คุณสมบัติของท่อเหล็กร้อยสายไฟ ที่ควรรู้ก่อนนำไปใช้งาน

ท่อเหล็กร้อยสายไฟ

งานเกี่ยวกับไฟฟ้า เป็นสิ่งที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ การเพิ่มความปลอดภัยด้วยการใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงได้ดียิ่งขึ้น หนึ่งในวิธีที่ต้องทำทุกครั้งเมื่อมีการเดินสายไฟก็คือ การเลือกใช้ ท่อเหล็กร้อยสายไฟซึ่งก็มีอยู่ปลายประเภท แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกัน ใช้กับงานที่แตกต่างกัน

เพื่อที่จะได้เลือกใช้ท่อให้เหมาะสมกับงานที่สุด ลองมาดูกันก่อนว่าท่อแต่ละประเภท มีคุณสมบัติแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

  • ท่อเหล็กชนิดบาง (EMT)

เป็นท่อเหล็กที่มีขนาดบางกว่าท่อทุกชนิด เหมาะกับงานที่ไม่ต้องรับแรงกดหรือแรงดันสูง นิยมใช้ในการฝังในผนังคอนกรีต หรือใช้ร้อยสายในอากาศ โดยท่อชนิดนี้จะผ่านการชุบ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีตั้งแต่ขนาด 15 ม.ม. ไปจนถึง 50 ม.ม.ในการใช้งานนั้นหากจำเป็นต้องดัด จะต้องใช้เครื่องดันเฉพาะท่อชนิดนี้เท่านั้น คือ Bending

  • ท่อเหล็กชนิดหนาปานกลาง (IMC)

เป็นท่อที่มีรคุณสมบัติคล้ายกับท่อเหล็กชนิดบาง แต่มีความหนามากกว่า การใช้งานก็นิยมใช้กับการฝังในกำแพงคอนกรีต หรือลอยในอากาศ ข้อควรระวังของการใช้ท่อชนิดนี้ก็คือ ไม่ควรนำไปใช้กับงานที่มีความเสี่ยงสูง หรือที่ที่เกิดอันตรายได้ง่าย

  • ท่อเหล็กชนิดหนา (RSC)

เป็นท่อที่มีความหนากว่าทั้งสองชนิด ผ่านการชุบเหมือนกับท่อเหล็กบางทุกอย่าง ท่อเหล็กแบบหนา สามารถใช้งานแทนท่อโลหะแบบบางกับแบบบางปานกลางได้ ข้อควรหลีกเลี่ยงของการใช้ท่อเหล็กร้อยสายไฟ ประเภทนี้คือ ไม่ควรนำไปฝังลงดิน หรือนไปใช้กับที่ที่เสี่ยงเกิดอันตรายทางกายภาพกับท่อ

ท่อเหล็กร้อยสายไฟ
  • ท่อเหล็กอ่อนร้อยสายไฟ ชนิดอินเตอร์ล็อค (EFF – Interlocked)

เป็นท่อที่มีความยืดหยุ่นเป็นพิเศษ ทำให้เกิดอันตรายทางกายภาพได้ยาก ช่วยให้สายไฟอยู่ในสภาพดีตลอดเวลา ไม่เกิดรอบขีดข่วนหรือรั่วได้ง่าย นิยมใช้ในอาคารในโรงงาน แต่ข้อจำกัดของการใช้ท่อประเภทนี้ จะต้องใช้ในพื้นที่ที่แห้งเท่านั้น เนื่องจากเป็นท่อที่ไม่สามารถกันน้ำได้

  • ท่อเหล็กอ่อนร้อยสายไฟ ชนิดสแควร์ล็อค (EFF-Squarelocked)

ท่อชนิดนี้เป็นท่อที่ผ่านการชุบด้วยสังกะสี ทำให้ท่อมีความหนาเป็นพิเศษ และอายุการใช้งานยาวนาน มีความคงทนสูง สามารถกันความร้อนจากภายนอกได้ดี จึงนำไปใช้ในสถานที่ที่มีความร้อนสูงได้ เช่นในโรงงานอุตสาหกรรม และความหนาของท่อยังช่วยป้องกันรอยขีดข่วนของสายไฟได้ และป้องงกันฝุ่น สิ่งสกปรกจากภายนอกได้ดี

แต่ข้อจำกัดของการใช้ท่ออ่อนร้อยสายไฟแบบสแควร์ล็อก ไม่สามารถนำไปใช้ในที่ที่เปียกชื่น เนื่องจากไม่สามารถกันน้ำได้ ต้องใช้ในที่ที่แห้งอย่างเดียว และควรจะอยู่ในที่ไม่เสี่ยงเกิดอันตรายกับท่อ

จะเห็นว่าท่อเหล็กร้อยสายไฟแต่ละประเภทนั้นเหมาะกับการใช้งานกับบางอย่างเท่านั้น ในการเลือกใช้งานจึงต้องใช้ให้เหมาะสม ที่สำคัญเลยก็คือ ต้องติดตั้งงอย่างถูกวิธีตามระเบียบของ วสท. ผู้ที่จะติดตั้งได้อย่างปลอดภัย จะต้องมีความชำนาญในการเลือกและติดตั้งเป็น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหรืออันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้าทีหลัง